เนื่องด้วยสถานการณ์ Covid-19 ส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
บริษัทฯ จึงขอหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
บริษัทฯ จึงขอหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
เที่ยวกัมพูชา นครวัด นครธม

-
นักท่องเที่ยวจะรู้เลยว่านี่เป็นไฮไล้ทของการทัวร์กัมพูชา และจุดหมายปลายทางก็คือ เสียมเรียบ ลองมาทำความรู้จักกันว่าเมืองมรดกโลกแห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร มีอะไรให้เราได้ชมได้ศึกษากันบ้างและทำไมถึงกล่าวว่า See Angkor Wat and Die

- อาณาจักรขอมโบราณ
- อาณาจักร์ยุคแรก
- อาณาจักร์ยุคเรืองอำนาจ
- อาณาจักรสมัยพระนคร (หริหราลัย)
- องค์เจ็ก องค์จอม
- ปราสาทนครวัด
- สาเหตุที่สร้างนครวัด
- ขนาดของปราสาทนครวัด
- หินที่สร้างนครวัดมาจากใหน
- กำแพงชั้นนอกปราสาท
- ปราสาทหันหน้าทางทิศตะวันตก
- การกวนเกษียรสมุทร
- การเดินขึ้นสู่สววรค์
- ปราสาทนครธม
- ทางเข้าสู่ปราสาทนครธม
- ประตูเมืองนครธม
- สนามหลวง
- ลานช้าง
- ลานพระเจ้าขี้เรื้อน
- ปราสาทสุออร์ปรัต
- ปราสาทบายน
- ปราสาทนาคพัน
- ปราสาทแปรรูป
- ปราสาทพระขรรค์
- ปราสาทพนมบาเค็ง
- ปราสาทตาพรหม
- เมืองหริหราลัย
- ปราสาทพระโค
- ปราสาทบากอง
- ปราสาทโลเลย
- ปราสาทบันทายสรี
- เขาพนมกุเลน
- ศิวลึงค์ใต้น้ำ
- น้ำตกพนมกุเลน
- วัดพระองค์ธม
- Night market
อาณาจักรขอมโบราณ
เมื่อราว 4,000 ปี มีชนชาติหนึ่งไม่ปรากฏที่มาแน่ชัด ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เชื่อกันว่าชนกลุ่มนี้น่าจะเป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของชาวกัมพูชาในปัจจุบัน แม้เรื่องราวและที่มาของชนกลุ่มนี้ยังคงเป็นปริศนาอยู่ แต่พอจะแน่ใจได้ว่าพวกเขาเหล่านี้รู้จักทำภาชนะดินเผาเพื่อเป็นภาชนะใส่น้ำหมักเหล้าจากน้ำตาลสดและหาปลามาทำปลาแห้ง เนื่องจากบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ มีน้ำมากทำให้น้ำท่วมทุกปี ผู้คนจึงสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นเรือนใต้ถุนสูง

บ้านพักอาศัยแบบใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ำในฤดูน้ำหลาก
อาณาจักรยุคแรก
อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณเริ่มจากอาณาจักรที่ชื่อว่าฟูนัน อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชาในปัจจุบัน อาณาจักรที่ชื่อว่าฟูนัน เริ่มต้นขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 11

ส่วนหนึ่งของอาคารที่ปราสาทนครวัด
เมื่ออาณาจักรฟูนัน เสื่อมอำนาจลง ก็มีกลุ่มชาวเขมรได้ก่อตั้งอาณาจักร์ขึ้นไกล้กับที่แม่น้ำโขงกับแม่น้ำซาบไหลมาบรรจบกัน(บริเวณที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบัน) ชื่อว่าอาณาจักรเจนละราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อาณษจักร์ขอมแยกเป็น 2 ส่วน คือเจนละบกและเจนละน้ำผู้คนพูดภาษามอญ-เขมร โดยมีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของไทย ลาว เวียดนามในปัจุบันนับเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอุษาคเนย์

ส่วนหนึ่งของภาพผนังแกะสลักในส่วนของลานขี่เรื้อน
ประวัติศาสตร์สมัยพระนครเริ่มต้นขึ้นราวปี พ.ศ.1345-1896 ก่อนการสถาปนาเมืองพระนครเป็นเมืองหลวงชาวเขมรได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณแถบนี้นานแล้วและเมื่อมีการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงพนมเปญ เมืองพระนครก็ไม่ได้ถูกทิ้งร้างและช่วงเวลา 500 ปี ถือว่าเป็นยุคที่เรืองอำนาจและมีอิทธิพลสูงในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ปราสาทบากอง ปราสาทสมัยหริหราลัย
องค์เจก องค์จอม
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเสียมเรียบ เปรียบเสมือนศาลพ่อหลักเมืองซึ่งชาวเสียมเรียบและนักท่องเที่ยวนิยมมากราบไหว้สักการะขอพร

ส่วนด้านหน้าทางเข้าศาลา องค์เจก องค์จอม

นักท่องเที่ยวที่มาสสักการะขอพร

บางท่านก็ไปอธิษฐานไกล้ๆเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของแต่ละคน
ปราสาทนครวัด
สุดยอดปราสาทขอมปราสาทหินที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นโบราณสถานที่เก้าแก่ที่มีค่ายิ่งของกัมพูชา และเป็นเทวสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลักโดยตัดหินเป็นก้อนสี่เหลี่ยมนำมาเรียงก่อสร้างเป็นปราสาทขนาดใหญ่แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมและความเจริญของมนุษย์สมัยนั้น

หากเดินทางช่วงฤดูฝนน้ำจะเต็มสระและสนามหญ้าจะเขียวสวยงาม

ทางเดินทางเข้าด้านข้างจะเห็นความสวยงามของปราสาทอีกแบบหนึ่ง

ส่วนของกำแพงด้านนอกตัวปราสาท
สาเหตุที่สร้างนครวัด
เหตุที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทนครวัดขึ้นมานั้น มีความเห็นเป็นหลายอย่าง เช่น สร้างเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรพระนคร สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ สร้างเพื่อเป็นที่บรรจุพระอัฐิหรือสุสานของพระองค์ เนื่องจากนครวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศแห่งความตาย

ทางเดินผ่านคูน้ำซึ่งมีความกว้างประมาณ 200 เมตร
ปราสาทมีขนาดใหญ่ถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 65 เมตร ยาว100 เมตร กว้าง 80 เมตร มีคูน้ำกว้าง 200 เมตร กำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตรและมีคูน้ำล้อมรอบ

อีกความสวยงามเมื่อเห็นเงายอดปราสาทสะท้อนในสระน้ำ

มุมมองด้านหน้าปราสาทผ่านคูน้ำด้านทางเข้า
เป็นหินที่ชักลากมาจากเขาพนมกุเลนซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร โดยใช้หินกว่า 6000,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก แรงงานคนนับแสนขนหินและชักลาก

ความสวยงามความอลังกาลของศิลปขอมสมัยโบราณ

รูปนางอัปสรที่อยู่ตามผนังซึ่งแต่ละนางจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน

ระเบียงทางเดินด้านนอกจะมีภาพแกะสลักอยู่ตลอดทางเดิน
กำแพงชั้นนอกมีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณีย์กิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และวรรณคดีเรื่องรามายณะและรูปแกะสลักนางอัปสรอีก1,635 นางซึ่งทั้งหมดมีทรงผมแต่งกายที่ไม่ซ้ำกัน

ร่องรอยของอารยธรรมที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง

รูปนางอัปสรถึงแม้จะสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันแต่ก็มีความแตกต่างในรายละเอียด
ปราสาทนครวัดไม่เหมือนที่ใดจะหันหน้าสู่ทางทิศตะวันตกและเป็นทางเข้าที่สวยที่สุด (มีทางเข้าได้ทั้ง 4 ทิศ) ที่สร้างทางเข้าทางทิศตะวันตกด้วยความเชื่อ 3 อย่างคือ
- เชื่อว่าสร้างเป็นที่เก็บอัฐิของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
- หันหน้าไปทางพนมบาเค็งซึ่งเป็นเมืองหลวงในอดีต
- การลำเลียงหินใช้ทางแม่น้ำซึ่งเริ่มสร้างจากทางทิศตะวันตกจะง่ายกว่า

หากยังไม่ได้เห็นอย่าเพิ่งรีบตาย มาเห็นแล้วก็ต้องถ่ายรูปเป็นที่ระลึกหน่อย

นักท่องเที่ยวทุกคนที่มาเยือนคิดแบบเดียวกัน
เป็นการกวนน้ำอมฤทธิ์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะการต่อสู้ระหว่างเทพกับอสูร เมื่อฝ่ายเทพต่อสู้แล้วพ้ายแพ้แก่อสูรอยู่ตลอดจึงต้องมีการเสริมฤทธิ์ด้วยการดื่มน้ำอัมฤทธิ์ แต่การจะได้น้ำอัมฤทธิ์ต้องร่วมกัน 2 ฝ่ายโดยฝ่ายเทพออกอุบายให้อสูรมาช่วยสัญญาว่าจะแบ่งกันคนละครึ่ง และการกวนใช้เวลานับพันปีจึงจะสำเร็จ เมื่อสำเร็จฝ่ายเทพเบี้ยวฮุบไปเป็นของตัวฝ่ายเดียวจึงเกิดการทะเลาะแก้แค้นกันไปมา และพระศิวะเลยเข้ามาถ่วงดุลย์เพื่อไม้ให้ทั้งสองฝ่ายเอารัดเอาเปรียบกันสงครามระหว่างเทพกับอสูรจึงสงบลง

การกวนเกษียนสมุทรในส่วนของพวกอสูรซึ่งเป็นด้านหัวพญานาค

ส่วนฝั่งนี้เป็นฝ่ายเทพ
การเดินทางขึ้นสู่ปรางค์องค์กลางของปรางค์ทั้งห้าเป็นการขึ้นสวรรค์ตามความเชื่อของพราหมณ์ เมื่อขึ้นถึงด้านบนแล้วจะมองเห็นทิวทัศน์มุมสูงที่สวยงามของปราสาทอันยิ่งใหญ่แห่งนี้และปรางค์องค์กลางมีนางอัปสรสวยงามในหลากหลายหน้าตา ทรงผม การแต่งกาย อริยบท ให้ได้ชม

บันใดที่ขึ้นสู่ด้านบนยอดปราสาทค่อนข้างชันแต่มีราวให้จับ

ส่วนด้านนี้อยู่ส่วนด้านหน้าไม่อนุญาตให้ขึ้น

ส่วนยอดที่ถ่ายซูมให้เห็นกำแพงซึ่งแกะสลักสวยงาม
คำว่าธม แปลว่าใหญ่ ดังนั้นนครธมจึงแปลว่านครอันกว้างใหญ่ เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายที่เข้มแข็งและรุ่งเรืองสูงสุดของขอม เพราะหลังยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้วอาณาจักรพระนครก็เสื่อมลงตามลำดับนครธมมหานครแห่งปราสาทประกอบด้วยปราสาทหลายหลังมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กว้างถึง 9 ตารางกิโลเมตร มีความยาวกำแพงโดยรอบประมาณ 12 กิโลเมตร

ส่วนยอดของปราสาทบายน

ปราสาทบายนศูนย์กลางของปราสาทนครธม

ตัวสิงห์ที่เฝ้าอยู่หน้าทางขึ้นของปราสาทบายน

ภาพเศียรแกะสลักเป็นพระพักตร์พระะโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผินพระพักตร์ไปทั้งสี่ทิศ
การเดินทางเข้าสู้นครธมนั้นจุดเด่นที่สุดคือประตูทางเข้าด้านใต้ก่อนที่จะเข้าภายในบริเวณจะพบกับสะพานหินที่ทอดยาวผ่านคูน้ำเข้าสู่กำแพงและซุ้มประตูเมือง บนราวสะพานทั้ง 2 ฝั่ง สร้างเป็นเรื่องราวของการกวนเกษียรสมุทรซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต่างดึงยุคพญานาคกันข้างละ 54 องค์และตน

เป็นภาพมุมสูงช่วงทางเข้าปราสาทนครธม

ทางเข้าด้านซ้ายมือเป็นการกวนเกษียรสมุทรข้างฝ่ายอสูร

ทางเข้าด้านขวามือเป็นการกวนเกษียรสมุทรข้างฝ่ายเทพ
จุดเด่นที่สุดคือประตูทางเข้าด้านใต้ โดยเฉพาะกำแพงและประตูเมืองด้านบนของซุ้มประตูสร้างเป็นรูปสลักพระโพธิสสัตว์อวโลกิเตศวร 4 ด้าน

ส่วนยอดซุ้มประตูจะเป็นภาพพระอวโลกิเตศวรทั้งสี่ทิศ

ส่วนทางเข้าความกว้างจะพอดีกับรถมินิบัสไมอนุญาตให้รถใหญ่เข้า
หรือสนามหน้าจักรวรรดิ อยู่ใจกลางของเมืองนครธม เป็นลานโล่งๆเพื่อเป็นที่จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธี และเป็นที่ชุมนุมของทหารก่อนจะทำการออกศึก

ลานพลับพลาสำหรับกษัตริย์ประทับเวลามีงานพระราชพิธี

ลานสนามหน้าพลับพลาตอนนี้เป็นที่พักผ่อนของประชาชนทั่วไป
ลานช้าง สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการบูรณะเพิ่มเติมสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 เป็นศิลปะแบบบายน ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองพระนครหลวง

สัญญาลักษณ์ของพลับพลาที่ประทับ ณ.ลานช้าง

อีกมุมมองหนึ่งของพลับพลาที่ประทับ
ลานจะเป็นส่วนต่อเนื่องจากลานช้างในส่วนต่อจากพลับพลาตรงนี้จะเป็นกำแพง 2 ชั้นตามกำแพงจะเป็นรูปแกะสลักนางอัปสรและนาค ที่ได้ชื่อว่าลานพระเจ้าขี้เรื้อนอาจเป็นเพราะรูปนางอัปสรที่แกะสลักนั้นมีริ้วรอยตะปุ่มตะป่ำเต็มตัว หรือบ้างก็ว่าในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีโรคเรื้อนระบาด พวกช่างจึงได้สลักรูปพวกนางอัปสรเป็นโรคเรื้อนเอาไว้

ภาพแกะสลักที่ไม่เรียบร้อยเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน

ภาพแกะสลักที่ช่างแกะจงใจให้มีรอยตำหนิคล้ายโรคเรื้อน

ภาพจำหลักนางอัปสรที่มีตำหนิผิวขรุขระคล้ายคนเป็นโรค
เป็นปราสาทที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับพระเจ้าขี้เรื้อนจะเป็นปราสาทหลังเล็กๆ 12 หลังกระจายอยู่สร้างขึ้นไว้เพื่อให้นางสนมมาเฝ้ากษัตริย์ในระหว่างการทำพิธีต่างๆ

ปราสาทเล็กๆสำหรับนางกำนัลที่ตามเสด็จกษัตริย์เวลามีงานพระราชพิธี
ปราสาทบายน
บายน มาจากคำว่าไพรชยนต์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์หรือมาจากคำว่าบรรยงค์ อันหมายถึงพระที่นั่งในพระมหาราชวัง สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆ เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์

ภาพแกะะสลักพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผินพระพักตร์ไปทั้ง 4 ทิศ

อีกด้านหนึ่งบริเวณทางเข้าสู่ปราสาทบายน

ให้ดูกันชัดๆของภาพแกะสลักพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ปราสาทนาคพัน
ปราสาทนาคพันสร้างอยู่กลางสระสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่มีบ่อน้ำขนาดเล็กตั้งอยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศ แต่ละบ่อมีส่วนที่เชื่อมต่อกับสระใหญ่ตรงกลางเพื่อให้น้ำจากสระใหญ่สามารถไหลไปสู่บ่อเล็กได้การก่อสร้างปราสาทนาคพันจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนา

สระน้ำบริเวณด้านหน้าปราสาท

เมื่อน้ำในสระลดจะเห็นหางนาคพันอยู่ไกล้ๆปราสาท

ปราสาทนาคพันจะเป็นปราสาทหลังเล็กอยู่กลางสระน้ำ
คำว่าแปรรูปมาจากการที่ชาวบ้านตั้งโดยการเล่าต่อกันมาว่าเห็นกล่องหินสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ตั้งอยู่หน้าบันใดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ขนาดความกว้างยาวพอให้คนลงไปนอนได้เข้าใจว่าเป็นสถานที่ทำพิธีแปรรูป พิธีเผาศพแล้วนำกระดูกมาเรียงเป็นโครงร่างกายคนใหม่อีกครั้งเรียกว่าแปรรูปซึ่งปัจจุบันพิธีนี้ยังทำกันอยู่

ด้านหน้าทางขึ้นสู่ปราสาทด้านบน

เป็นภาพด้านข้างของปราสาทที่มองจากด้านล่างขึ้นไป

จะเห็นว่่าภาพแกะสลักต่างๆเริ่มเสื่อมไปตามกาลเวลา
ปราสาทพระขรรค์
จากหลักฐานทางการจารึกปราสาทหลังนี้สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่อพ.ศ.1734 อุทิศถวายพระบิดาของพระองค์คือพระเจ้าธรณินทรวรมันแล้วสถาปนาพระบิดาเปรียบเสมือนพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หนึ่งในรัตนตรัยมหายานพระบิดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งมวล เรียกปราสาทหลังนี้ว่าราชัยศรี

เป็นทางเข้าปราสาทที่ดูอลังกาลกว่าปราสาทอื่นๆของนครธม

แม้แต่ทางเดินภายในปราสาทความยิ่งใหญ่เป็นรองนครวัด นครธมเท่านั้น

ความสวยงามของภาพแกะสลักพราหมณ์ที่ยังคงสมบูรณ์

บางส่วนของบางอาคารก็เสื่อมพุพังไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังคงศิลปะที่สวยงามไว้ใหได้ชมกัน
ตั้งอยู่บนเขาพนมบาเค็ง สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายสร้างด้วยหินทรายสูงประมาณ 65 เมตรมีด้วยกัน 5 ชั้นชั้นบนสุดมีองค์ปรางค์ปราสาท 5 องค์ ใจกลางปรางค์ปราสาทขององค์กลางใช้เป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ มีภาพจำหลักของนางอัปสร รูปปั้นหินศิวนาฏราช โคนนทิพาหนะของพระอิศวรตั้งอยู่ด้านหน้าปราสาท

ด้านข้างทางทิศตะวันตกเป็นทางลง เห็นยอดปราสาทเล็กๆเรียงกันสวยงาม

ส่วนด้านบนของปราสาทเป็นลานกว้างให้นักท่องเที่ยวได้รอชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า

ภาพแกะสลักนางอัปสรและรูปอื่นๆบริเวณยอดปราสาท
สร้างขึ้นในปีพ.ศ.1729 ในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถือเป็นวัดประจำพระองค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระมารดาเป็นวัดในพระพุทธศานาที่ใหญ่มาก มีรูปแบบโดยรวมไม่ทำเป็นชั้นลอหลั่นกันมีชื่อเดิมว่าปราสาทราชวิหาร เป็นปราสาทหินในยุคท้ายๆของอาณาจักรขอม ลักษณะเด่นของปราสาทคือมีต้นไม้ใหญ่ต้นสะปงหรือต้นสำโรงขึ้นคลุมตัวปราสาทเป็นจำนวนมาก

ทางเข้าสวยงามไม่แพ้ปราสาทพระขรรค์

ต้นสะปงที่ขึ้นคลุมตัวปราสาทบางส่วน

บางส่วนจะเป็นเหมือนกรอบสี่เหลี่ยมให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูป

สะปงบางต้นทะลุขึ้นส่วนบนของหลังคาเลย
ตั้งอยู่ที่ตำบลโรลั้วะห่างจากเมืองเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกประมาณ 15 กิโลเมตร บริเวณนี้เดิมชื่อว่าเมืองหริหราลัยที่ปรากฎอยู่ในจารึกสต๊กก็อกธมตำว่าหริหระ+อาลัยหมายถึงที่อยู่ของพระวิษณุและพระศิวะ เมืองนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงเป็นผู้สร้างและมาประทับในปลายรัชกาล

ปราสาทบากององค์กลางยังคงความสวยงามพลาดไม่ได้หากเดินทางไปแล้ว

ปราสาทบริวาลแม้จะดูเล็กๆแต่ศิลปที่คงเหลือมีคุณค่ายิ่ง
สร้างโดยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์ในปี พ.ศ.1420-1432 เพื่อเคารพดวงวิญญาณของระราชบิดา พระราชมารดา และพระปิตุลากับพระปิตุฉาของพระองค์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1422 และเพื่อถวายให้พระศิวะในภาษาเขมรปราสาทพระโคหมายถึงวัวศักดิ์สิทธิ์ซึ่งที่นี่จะมีพระโคนนทิหมอบเฝ้าอยู่ด้านหน้า

เป็นอีกหนึ่งที่การแกะสลักตัวปราสาทสวยงามมาก

เป็นปราสาทกลุ่มมีทั้งหมด 6 หลัง

สร้างเป็น 2 แถว ๆละ 3 หลัง สวยงาม

ภาพแกะสลักที่ยังเหลืออยู่ไม่ว่าจะเป็นทับหลังหรือมุมผนังละเอียดคมชัด

ความสวยงามของตัวปราสาทแถวหน้าทั้ง 3 หลัง
เป็นปราสาทในกลุ่มปราสาทโลเลยที่ตั้งอยู่กลางเมืองหริหราลัย สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับเทพเจ้าในศาสนาฮินดูไศวนิกาย เป็นเทวสถานที่เคารพบูชาสูงสุดของพระมหากษัตริย์และประชาชนในพุทธศตวรรษที่15 บากองนับเป็นปราสาทในยุคแรกๆของอาณาจักรขอมเป็นวัดบนเขาแห่งแรกและเป็นวัดประจำรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1

ตัวปราสาทที่มองจากด้านทางเข้ายังคงรักษาสภาพไว้ได้ดีมาก

ตัวปราสาทยังคงแข็งแรงสามารถสามารถขึ้นไปชมด้านบนได้

ส่วนนี้น่าจะซ่อมแซมแทนของเก่าเพราะสีแตกต่างจากของเดิม

ภาพนี้จะเห็นถึงการเรียงหินในการก่อสร้างตัวปราสาท
กลุ่มปราสาทโลเลย เป็นปราสาทที่มีลักษณะเหมือนเกาะซึ่งพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นอญู่กลางบารายอินทรตฏากะ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระราชบิดา (พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1) มีการตกแต่งด้วยภาพสลักเทพธิดาที่งดงาม มีการต่อท่อน้ำออกจากกลางปราสาทมายังข้างนอกเพื่อให้ชาวบ้านรับน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่าปากนาคราชทั้ง 4 ทิศ

ปราสาทนี้ดูจะเล็กกว่า 2 ปราสาทในกลุ่มหริหราลัย

ในปี 2019 น่าจะซ่อมเสร็จเรียบร้อยแต่อย่างไรก็ตามความน่าสนใจสู้ 2 ปราสาทแรกไม่ได้
หรือเรียกแบบเขมรว่าบันเตียไสร หมายถึงปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี (บันทายแปลว่าป้อม สรี แปลว่าผู้หญิง) เป็นปราสาทหินที่งดงามที่สุดของกัมพูชา สร้างด้วยหินทรายสีชมพูมีความปราณีตและเป็นฝีมือชั้นสูงหาชมยากเป็นปราสาทที่เชื่อว่าสร้างให้พระสนม เป็นปราสาทที่ไม่ใช่กษัตริย์สร้างแต่สร้างโดยปุโรหิตผู้เป็นพราหมณ์ชื่อยัชญวราหะในตอนปลายสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 พ.ศ. 1487-1511 และเสร็จในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ปี พ.ศ.1511-1544

แค่ซุ้มประตูทางเข้าก็ชงักงันกันเลยครับ

ให้เห็นความละเอียดอ่อนไกล้ๆกันเลยว่าทำใมไม่ยอมเดินผ่านประตูกัน

หนึ่งในหลายๆปราสาทที่บันทายสรี

อีกส่วนหนึ่งของกลุ่มปราสาทที่บันทายสรี ความงดงามของศิลปเหลือคณานับเลยครับ

เนื่องจากเป็นหินสีชมพูบวกกับความสามารถในการแกะสลักความสวยงามจึงเป็นอย่างที่เห็น
พนมกุเลนเป็นเทือกเขาสูงทอดยาวเป็นหนึ่งในยอดเขาที่มีความสำคัญของกัมพูชาเพราะเป็นแหล่งหินทรายที่นำไปสร้างปราสาทหิน ชุมชนที่พนมกุเลนมีการตัดหินตั้งแต่สมัยโบราณโดยจะทำการตัดหินกันบนภูเขาก่อนที่จะใช้ช้างลากและต่อลงแพล่องหินมายังเสียมเรียบ

ส่วนหนึ่งของการแกะสลักศิวลึงค์ใต้ลำธารที่พนมกุเลน
เขาพนมกุเลนได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งเทพเจ้า ด้วยบนเขาพนมกุเลนซึ่งเป็นต้นแม่น้ำที่เก็บรับน้ำมาจากฟ้าไหลเป็นลำธารลงมาผ่านแผ่นทับหลังรูปสลักซึ่งมีศิวลึงค์นับพันองค์ถูกสลักไว้ใต้น้ำ ดังนั้นน้ำในลำธารนี้ชาวกัมพูชาเชื่อว่าเป็นแม่น้ำที่ศักดิ์สิทธิ์

หลากหลายขนาดของศิวลึงค์ที่ลำธารเขาพนมกุเลน

เวลาเดินทางเพื่อชมศิวลึงค์หากน้ำมากจะมองไม่เห็นแบบนี้

เมื่อน้ำไหลผ่านศิวลึงค์ก็จะเป็นน้ำที่ศักดิ์สิทธิตามความเชื่อของผู้คนสมัยนั้น
เนื่องจากเขาพนมกุเลนหรืออุทยานแห่งชาติพนมกุเลน มีธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ ทำให้เก็บกักน้ำไว้ได้และเกิดความชุ่มชื้นมีน้ำตกสวยงามตลอดทั้งปี

เมื่อป่าที่อุดมสมบูรณ์ก็ทำให้น้ำมีมากน้ำตกก็สวยงาม

ส่วนของน้ำตกชั้นที่สองมีนักท่องเที่ยวลงไปเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน
หรือโบถส์ลอยฟ้า มีพระนอนแกะสลักจากหินส่วนยอดของหินก้อนใหญ่ หน้าตาใกล้เคียงศิลปทวาราวดีประดิษฐานอยู่ โดยจะมี่นักท่องเที่ยวและชาวกัมพูชาเองขึ้นไปกราบไหว้ขอพรกันไม่ขาดสาย

บันใดทางขึ้นวัดเพื่อไปสู่วิหารลอยฟ้า

วิหารหลังเล็กศิลปสวยงาม

วิหารลอยฟ้าที่สร้างอยู่บนปลายสุดของยอดเขา

พระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินยอดเขาสวยงาม แต่บริเวณค่อนข้างจะคับแคบ
ตลาดขายของที่ระลึก ซึ่งมีสินค้าตั้งแต่เสื้อผ้าของใช่ ของกินมากมายให้ได้เลือกซื้อกลับบ้าน รวมทั้งท่านที่ชอบดื่มก็มี Pub Street ให้ท่านได่สนุกสนาน

สินค้ามากมายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกลับบ้าน

เลือกความสนุกสนานได้เลยครับสำหรับท่านที่ชอบดื่ม