เนื่องด้วยสถานการณ์ Covid-19 ส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
บริษัทฯ จึงขอหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
บริษัทฯ จึงขอหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
เที่ยวแม่ฮ่องสอน 4 วัน 3 คืน

หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ้นบัวตอง
ทัวร์แม่ฮ่องสอน แบบกรุ๊ปส่วนตัวเดินทางตั้งแต่ 2 ท่าน เดินทาง 4 วัน 3 คืน ท่องเที่ยวเมืองแม่ฮ่องสอน และปาย
- วันที่ 1 เมื่อเดินทางถึงสนามบินแม่ฮ่องสอน เข้าเช็คอินที่พัก ไหว้พระธาตุกองมู เดินชมสินค้าถนนคนเดิน พักเมืองแม่ฮ่องสอน
- วันที่ 2 เข้าดูที่หมู่บ้านกระเหรี่ยงคอยาว ชมซูตองเป้ ต่ออยังภูโคลน ปางอุ๋ง และพักที่บ้านรักไทย
- วันที่ 3 ชมธรรมชาติรอบๆหมู่บ้านรักไทย เดินทางสู่ปาย ปายแคนย่อน ถนนคนเดินปาย พักที่ปาย
- วันที่ 4 ชมทะเลหมอกที่หยุ่นไหล บ้านสันติชล เดินทางกลับปาย ส่งสนามบิน
- วัดพระธาตุกองมู
- บ้านรวมไทย หรือปางอุ๋ง
- บ้านรักไทย
- ภูโคลน
- บ้านห้วยเสือเฒ่า
- น้ำตกผาเสื่อ
- สะพานซูตองเป้ หรือ สะพานอธิษฐานสำเร็จ
- ถ้ำปลา
- วัดจองคำ จองกลาง
- ถนนคนเดินแม่ฮ่องสอน
- ร้านอาหารและกาแฟ วิวสวย
- จุดชมทะเลหมอกหยุนไหล
- กองแลน หรือ ปายแคนยอน
- สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย
- โป่งน้ำร้อนท่าปาย
- วัดพระธาตุแม่เย็น
- วัดน้ำฮู
- หมู่บ้านสันติชล
- น้ำตกหมอแปง
- จุดชมวิวกิ่วลม
- ถนนคนเดินปาย
แม่ฮ่องสอน มีความโดดเด่น โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงามบริสุทธิ์ วัดวาอารามที่มีศิลปะอ่อนช้อนงดงาม และได้ชื่อว่า เมืองสามหมอก เนื่องจากเป็นเมืองที่รายล้อมด้วยภูเขา
วัดพระธาตุกองมู
วัดพระธาตุเก่าแก่ คู่เมืองแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่บนดอยกองมู งดงามไปด้วยสถาปัตยกรรมแบบพม่าผสมกับไทยใหญ่ โดดเด่นด้วยจุดชมวิวที่เหมาะจะชมความงามทั้งเมืองไปพร้อมกับพระอาทิตย์ตกดิน

ป้ายชื่อวัดตรงบันใดลงไปจุดถ่ายภาพมองเห็นสนามบินอยู่ไม่ไกล

ลานชมวิวเมืองแม่ฮ่องสอน ด้านล่างสำหรับนักถ่ายภาพ

ส่วนของพระธาตุสีขาวเด่นสง่าบนยอดดอยกองมู

ศาลาหรือวิหารที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจบนยอดดอยกองมู

พระเจ้าทันใจ ที่ทั้งชาวเมืองแม่ฮ่องสอนและนักท่องเที่ยว นิยมไปขอพร

ศาลาวัดรูปแบบพม่า ผสมไทยใหญ่

ต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองสำหรับแขวนเพื่อความเป็นศิริมงคล

เสาหลักกิโลเมตรที่บอกระยะทางลงไปที่ศาลากลางจังหวัด 3 กม.
บ้านรวมไทย หรือปางอุ๋ง
ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง มีทัศนียภาพความสวยงามโดยเฉพาะทะเลสาบในช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้นสะท้อนผิวน้ำ ผ่านทิวสน มีไอหมอกบางๆเหนือน้ำ สร้างความอบอุ่นและประทับใจแก่ผู้มาเยือน

ป้ายแสดงบอกชื่อปางอุ๋งโดยกรมชลประะทาน

ความสุขที่ได้รับจากอ่างเก็บน้ำปางอุ๋งถึงแม้จะไม่ประสพผลสักเท่าใด

ภาพบริเวณกว้างของอ่างเก็บน้ำรายล้อมด้วยธรรมชาติที่เขียวชะอุ่ม

การนั่งแพพายรอบๆบริเวณอ่างเก็บน้ำหากเป็นช่วงเช้าบรรยากาศจะสดชื่นกว่านี้

ส่วนริมน้ำบริเวณป่าสนเป็นที่กางเต้นสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาค้างคืน

หงษ์ฟ้ากลางสระ หาอาหารแต่ลำพัง
หมู่บ้านชาวจีนยูนนาน อดีตทหารจีนคณะชาติกองพล 93 ก๊กมินตั๋ง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล กว่า 1,776 เมตร ทำให้พื้นที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับการปลูกชาพันธุ์ดี และพืชเมืองหนาว ทิวทัศน์ของ หมู่บ้านโอบล้อมไปด้วยทิวเขาแมกไม้ที่อุดมสมบูรณ์ บ้านรักไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อในเรื่องของชาและขาหมู่หมั่นโถว

หมู่บ้านสวนชาหนึ่งเดียวของหมู่บ้าน

มาดูกันให้ชัดๆอีกหน่อยว่าน่ามาพักแค่ใหน ช่วงปลายปีที่นี่เต็มตลอดต้องจองล่วงหน้า

หลักบอกระยะทางเข้าตัวเมืองแม่ฮ่องสอน 45 กิโลเมตร

สระน้ำสัญญาลักษณ์หมู่บ้านรักไทยหนึ่งเดียวที่ทำให้น่าพักมากขึ้นโดยเฉพาะฤดูหนาว

เรือล่องทานอาหารไปด้วยรอบๆสระกลางหมู่บ้าน

เมื่อเข้าไปถึงที่แล้วไม่ลองก็เสียเที่ยวชุดนี้ทานคนเดียวค่าเสียหาย 390
เป็นแหล่งน้ำแร่และโคลนธรรมชาติที่มาจากสายน้ำแร่ใต้พื้นดิน ที่มีความร้อนตั้งแต่ 60 - 140 องศาเซลเซียสเป็น โคลนเดือด บริสุทธิ์สีดำ ที่ขึ้นมาพร้อมกับน้ำแร่ธรรมชาติที่สะอาดและไม่มีกลิ่นของกำมะถัน ซึ่งอุดมไปด้วย แร่ธาตุที่เป็นประโยชน์กับผิวหนังและระบบไหลเวียนโลหิตของมนุษย์เรา

ป้ายแจ้งสถานที่ ว่ามาที่ภูโคลนแม่ฮ่องสอน

หลังจากล้างหน้าสะอาดเรียบร้อย จะเริ่มทำการพอกโคลน

ใช้เวลาไม่นานเสร็จเรียบร้อย ใช้เวลาอีก 15 นาที ระหว่างรอไปแช่เท้าน้ำแร่ร้อนเพื่อบรรเทาความเมื่อยล้า
หมู่บ้านของชาวกระเหรี่ยงคอยาว อยู่ที่ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร ภายในหมู่บ้านจะจัดให้มีร้านจำหน่ายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว โดยส่วนใหญ่จะเป็นผ้าทอมือ กำไรเงิน-หยก สร้อยคอ เครื่องประดับของชนเผาในแบบต่างๆ

ป้ายทางเข้าสู่ตลาดชุมชนชาวกระเหรี่ยงคอยาว

ตลาดขายของที่ระลึกซึ่งอยากให้นักท่องเที่ยวที่ไปชมช่วยอุดหนุนสินค้าด้วยครับปลอกคอทองเหลืองที่สวมใส่นั้นหนักพอสมควรและใส่อยู้ตลอดไม่มีการถอดออกซึ่งไม่ใช่ง่ายๆสำหรับการดำรงค์ชีพ

ร้านนี้รุ่นใหญ่หน่อยต้องใช้ความสามารถเป็นตัวช่วยในการขาย

สาวผู้นี้จบระดับปริญญาต้องการรักษาวัฒนธรรมของชนเผ่าไว้จึงกลับถิ่นมาขายของที่ระลึกซึ่งน่าชื่นชมอย่างยิ่งเพราะแม้แต่น้องสาวของเธอก็ไม่กลับมา
อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ การเดินทางไปเที่ยวน้ำตกผาเสื่อก็ไม่ลำบาก เนื่องจากน้ำตกห่างที่จอดรถเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีการจัดทำจุดชมวิวของน้ำตกไว้เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว น้ำตกผาเสื่อเป็นน้ำตกขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ต้นทางน้ำตกมาจากแม่น้ำสะงา ไหลลงมาเป็นม่านน้ำขนาดใหญ่ลงสู่แอ่งน้ำด้านล่าง

ป้ายน้ำตกเห็นได้ชัดเจนเมื่อขับรถผ่าน

พอดีช่วงเดินทางเป็นฤดูฝนน้ำมากและใหลแรง

ลานชมน้ำตก เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
สะพานไม้ไผ่ กว้าง 2 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของพระภิกษุ สามเณร และชาวบ้าน วัสดุที่ใช้หาได้ในท้องถิ่น เสาจากไม้เก่าของชาวบ้านปูพื้นด้วยไม้ไผ่ ทอดยาวจากสวนธรรมภูสมะถึงหมู่บ้านกุงไม้สัก ผ่านลำน้ำแม่สะงา ผ่านทุ่งนาของชาวบ้าน เพื่อให้พระภิกษุสามเณรออกรับบิณฑบาต ถือเป็นสะพานไม้แห่งศรัทธา คำว่า ซูตองเป้ นั้นเป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า อธิษฐานสำเร็จ พระสงฆ์จะบิณฑบาตบนสะพานทุกเช้าเวลา 6.30 -7.30 น.

ป้ายชื้อสะพาน สำหรับนักท่องเที่ยวถ่านรูปเป็นที่ระลึก

เป็นสะพานที่ผ่านทุ่งนา และข้ามแม่น้ำเชื่อมระหว่างวัดกับชุมชน

ทางลงสะพานจากทางฝั่งที่เป็นวัด

อีกมุมมองหนึ่งของสะพานที่ห้อมล้อมไปด้วยทุ่งนา ป่าและเขา

บริเวณวัดอาคารในรูปแบบไทยใหญ่

พระพุทธรูปพุทธลักษณะแบบพม่า
ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสถานที่ที่มีความพิเศษ แตกต่างไปจากสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ เนื่องจากว่าภายในถ้ำมีความมหัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่ง ก็คือ บรรดาหมู่ปลาจำนวนมากที่มาอยู่อาศัยในถ้ำแห่งนี้




สองวัดที่เป็นเหมือนขวัญมื่งของคนแม่ฮ้องแม่ฮ่องสอน วัดจองคำโดดเด่นด้วยหลังคาทรงปราสาท 9 ชั้น องค์เจดีย์ศิลปมอญเหนือยอดฉัตรประดับปูนปั้นทาทองสุกปลั้งยามต้องแดด โดยเเฉพาะยามเย็นเมื่อยืนอยู่ฝั่งตรงกันข้ามขอบสระน้ำจะเห็นเงาสะท้อนสวยงามทั้งหมดวัด พร้อมเห็นความสุขของคนเมืองแม่ฮ่องสอนที่ให้อาหารปลาเป็นประจำทุกเย็น

ยามเย็นก่อนพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้า ความสงบ ที่มองผ่านสระน้ำเข้าไป

ศิลปที่แตกต่างออกไปจากของไทยแท้ก็จะดูแปลกตาและสวยงาม

ส่วนของตัวโบสถ์ก็เป็นแบบง่ายๆตามศิลปท้องถิ่น

ศาลาทรงปราสาทยอดฉัตร 9 ชั้น

ยามเย็นดูแล้วสวยงาม สงบ ร้มรื่น

ยามค่ำคืนหากเป็นฤดูท่องเที่ยวทางวัดจะประดับไฟสวยงามเนื่องจากวัดอยู่ติดถนนคนเดิน
ตลาดถนนคนเดินจะมีทุกวัน แต่จะหยุดช่วงโลซีซั่นฤดูฝนเนื่องจากนักท่องเที่ยวมีน้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่าย สินค้าส่วนใหญ่เป็นของที่ระลึก อาหารการกินทั่วไป สุดทางถนนคนเดินก็จะเป็นวัดจองคำจองกลาง


เมืองเล็กๆ ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยขุนเขา ปกคลุมด้วยหมอก เป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างมาก โดยเฉพาะฤดูหนาวมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่ปาย เพื่อสัมผัสอากาศหนาวเย็นเป็นจำนวนมาก

ร้านอาหารและกาแฟ วิวสวย
จากตัวเมิองแม่ฮ่องสอน เดินทางสู่ที่เที่ยวปาย เมื่อก่อนเข้าปายก็ต้องปายอินเลิฟ ร้านกาแฟวิวสวย ปัจจุบันนี้เริ่มมีสตรอเบอรี่ ตกแต่งบริเวณสวยงาม เพียงรอฤดูให้มาถึง นักท่องเที่ยวช่วงนี้ก็เบาบางหน่อย ตามฤดูกาล แต่ธรรมชาติสวยอย่าบอกใคร บรรยากาศเที่ยวก็สบายๆไม่ต้องแย่งกับใคร

ด้านหลังร้านอาหารจะตกแต่งสวยงามเพื่อถ่ายรูปเป็นที่ระลึก


หนึ่งในจุดชมวิวของอำเภอปาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในช่วงท่องเที่ยวปลายปี-ต้นปี อากาศหนาวเย็นอันเป็นเสน่ห์ของอำเภอปาย โดยเฉพาะยามเช้ามีทะเลหมอกให้ได้ชมกัน พร้อมด้วย 100 สถานที่บอกรักรวมทั้งศาลาสำหรับนั่งชมวิวยามเช้า

ทางขึ้นสู่จุดชมทะเลหมอปหยุ่นใหล ส่วนนี้จะมีค่าบำรุงสถานที่ 20 บาท / คน

จุดไฮไล้ท์สำหรับชมทะเลหมอก และถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

อีกมุมหนึ่งของลานจุดชมวิวหยุ่นไหล

ลานบริเวณจุดชมวิวหยุ่นไหล วันนี้อาจจะดูเงียบเหงา แต่จะแน่นไปด้วยนักท่องช่วงปลายปีโดยเฉพาะตอนเช้าตรู่

จุดนั่งชมวิวชิวชิว ตามอัธยาศัย

จุดที่คู่รักมาบอกรักกัน และบางคู่ก็มาขอแต่งงานกัน
กองแลน หรือ ปายแคนยอน
ปายแคนยอน จากลักษณะของภูมิประเทศที่คล้ายแกรนด์แคนยอน แต่อยู่ที่อำเภอปาย จึงให้ชื่อว่า ปายแคนยอน จริงๆแล้ว กองแลนมาจากภาษาพื้นเมือง กอง หมายถึง ถนนหรือเส้นทางที่ใช้สัญจร ส่วน แลน หมายถึง ตัวตะกวด ตัวเงินตัวทอง พอมารวมกันเป็น กองแลน หมายถึง เส้นทางสัญจรของตะกวด ซึ่งเป็นทางที่แคบและเล็กนั่นเอง

ลักษณะเนินดินที่ถูกน้ำเซาะเกิดเป็นริ้วสวยงาม

เมื่อโดนน้ำเซาะจะเกิดเป็นทางเดินเล็กๆบางท่านอาจจะเดินไปเสียวไปแต่ก็น่าท้าทาย

บางส่วนจะเป็นลานกว้างมีที่นั่งชมวิวสวยๆใช้เวลาให้มีความสุขกับธรรมชาติ
หรือสะพานปาย เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ถูกสร้างขึ้นโดยทหารญี่ปุ่น ใช้เป็นทางลำเลียงอาวุธและอาหารเพื่อข้ามไปยังฝั่งพม่า ในอดีตสะพานแห่งนี้ถูกสร้างด้วยไม้ แต่หลังจบสงครามได้เผาสะพานไม้ทิ้ง สะพานนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยใช้สะพานเหล็กจากสะพานนวรัฐมาแทน ซึ่งเป็นของเดิมในจังหวัดเชียงใหม่

ช่วงโลและวันนีฝนตกด้วยทำให้มีนักท่องเที่ยวน้อย

ความชุ่มฉ่ำและสวยงามตามธรรมชาติ

อีกด้านหนึ่งของสะพาน ริมฝั่งน้ำปายจะเป็นรีสอร์ท
สถานที่อาบน้ำแร่ธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยป่าเขาลำธารและไอเย็นรอบๆ โป่งน้ำร้อนเป็นป่าไม้สักที่นี่มีน้ำร้อนไหลผ่านทั่วบริเวณกว้าง โดยมีบ่อใหญ่อยู่สองบ่อ บางช่วงเป็นแอ่งกว้างให้ลงแช่ตัวอาบน้ำแร่ได้ บางช่วงทำได้เพียงนั่งลงแช่เท้าเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การอาบน้ำแร่ในโป่งน้ำร้อนท่าปายเป็นการอาบน้ำแร่ในบ่อแช่แบบธรรมชาติที่มีสภาพเดิม ๆ ปราศจากการปรุงแต่งแต่อย่างใดและในบางบ่อซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 80 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

ป้ายทางเข้าโป่งน้ำร้อนท่าปาย

บ่อนี้น้ำร้อนมากถึง 80 องศาซี

บ่อนี้ค่อนช้างใหญ่และร้อนมากเช่นกัน

ตอนเข้าไปชมทางอุทยานปิดขอเข้าเป็นกรณีพิเศษเพื่อถ่ายรูปจึงไม่มีนักท่องเที่ยว
วัดศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองปาย บริเวณวัดเงียบสงบ มีจุดเด่นอยู่ที่พระพุทธรูปสีขาวขนาดใหญ่ อยู่บนภูเขามองเห็นได้ชัดจากตัว อ.ปาย โดยประวัติของวัดพระธาตุแม่เย็นไม่มีปรากฏว่าสร้างขึ้นในสมัยใด ด้านหลังโบสถ์เป็นที่ตั้งของเจดีย์เก่าหรือที่เรียกว่า เจดีย์พระธาตุแม่เย็น เป็นเจดีย์ทรงระฆังสีขาวฐานกลม สูงประมาณ 3 เมตร โดดเด่นที่ยอดฉัตรแบบเจดีย์พม่า นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางขึ้นมาชมและกราบไหว้พระนอน แล้วที่นี่ยังสามารถชมวิวทิวทัศน์ของตัวเมืองปาย – แม่น้ำปายได้อีกด้วย





วัดเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของปาย โดยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองปายและนักท่องเที่ยวทุกคนต้องแวะกราบสักการะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่วัดนี้ คือพระอุ่นเมือง ส่วนความเป็นมาของวัดน้ำฮูนั้น ไม่ปรากฏบันทึกการสร้างชัดเจน แต่เชื่อกันว่าน่าจะสร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ซึ่งได้เสด็จไปเป็นตัวประกันที่พม่าแทนพระองค์ แต่ต่อมาได้ถูกปลงพระชนม์ที่พม่านั่นเอง และบรรจุเส้นพระเกศาไว้ในพระเจดีย์สีทองที่อยู่หลังวิหารของวัดน้ำฮูแห่งนี้

ด้านหน้าวัดจะมีศาลากลางสระน้ำ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

โบสถ์วัดน้ำฮูดูแล้วสร้างแบบง่ายๆ แต้ก็ดูเรียบร้อยสวยงามคู่กับศาลาไม้ที่เรียบง่ายเหมือนกัน

พระอุ่นเมือง พระศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดน้ำฮู

พระเจดีย์สีทองที่บรรจุเส้นพระเกศาสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยาไว้ด้านใน
หมู่บ้านชาวจีนยูนนานที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศจีน และด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและประเพณีที่พวกเขารักษาไว้ ทำให้ที่นี่กลายเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่เมื่อมาเยือนเมืองปายแล้ว ทุกคนต้องแวะมาเยี่ยมชมอยู่เสมอ

เมื่อมาถึงที่นี่ คุณจะได้สัมผัสกับการจำลองบรรยากาศของชุมชนจีนยูนนานในประเทศจีน

ด้วยการประดับตกแต่งสถานที่โดยรอบ เป็นสไตล์จีนยูนนานทั้งหมด

ลักษณะเหมือนกำแพงเมืองจีน นักท่องเที่ยวจะเช่าชุดเพื่อถ่ายรูปที่ระลึก


ที่นี่เต็มไปด้วยกิจกรรมท่องเที่ยวมากมาย
แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของอำเภอปาย ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้น้ำตกสายอื่นในแม่ฮ่องสอน โดยที่นี่จัดเป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี แบ่งออกเป็น 3 ชั้น และมีความสูงโดยรวมประมาณ 5 เมตร กว้าง 10-15 เมตร ท่ามกลางป่ายางอันร่มรื่น หลายคนจึงนิยมมาปิกนิก บ้างก็คลายร้อนด้วยการเล่นน้ำ

บรรยากาศด้านหน้าของน้ำตก สามารถเล่นได้ตั้งแต่ชั้นแรกเลย

ที่ต้องชม อบต. เพราะว่ามีการสร้างสะพานข้ามศาลาที่นั่งพัก ดูแล้วร่มรื่นสวยงาม

เด็กๆชาวบ้านแถบนั้นมาเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน เรียกว่าเป็นการโชว์นักท่องเที่ยวก็ว่าได้

เล่นสไล้เดอร์ธรรมชาติลอยได้อย่างสวยงามไม่แพ้นักกีฬาทีมชาติ
จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมจอดรถแวะพักเข้าห้องน้ำและดื่มกาแฟ ได้นั่งชมวิว พักผ่อนได้ หรือถ่ายรูปกับน้อง ๆ ชาวเผ่าลีซอ หรือจะเดินดูร้านค้าของชาวเขาเผ่าลีซอ ที่ตั้งอยู่ทั้งสองฝั่งของจุดชมวิว ถือเป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาด

ด้านหลังป้ายจะเป็นระเบียงคอนกรีตสำหรับชมวิว

ชิงช้าชาวเผ้าที่นักท่องเที่ยวได้นั่งพักระหว่างการชมวิว ทำให้ผ่อนคลาย

ธรรมชาติที่สวบงาม ยามเมื่อฝนมา ท้องฟ้าก็จะเต็มไปด้วยเฆฆหมอก

วิวอีกด้านหนึ่งของถนน ความสวยสดชื่นเหมือนๆกัน ชมวิวกันแล้วขับรถต่อยังเมืองแม่ฮ่องสอน
เป็นถนนคนเดินตอนเย็นในตัว อ.ปาย เปิดบริการทุกวันเริ่มตั้งแต่ 16.00 น. เป็นต้นไป มีของขายหลายอย่าง เสื้อผ้า ของกิน ของที่ระลึก งานแฮนด์เมด ร้านอาหาร – อาหารท้องถิ่น



