เนื่องด้วยสถานการณ์ Covid-19 ส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
บริษัทฯ จึงขอหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
บริษัทฯ จึงขอหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
เที่ยวพม่า ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์

AtSiamTour ขอแบ่งออกเป็น 2 ทริป เพื่อสะดวกสำหรับการเดินทางไม่เหนื่อย เพราะสถานที่ท่องเที่ยวพม่าจะเป็นสถานที่ทางศาสนาโดยส่วนใหญ่
- ย่างกุ้ง พระธาตุอินทร์แขวน พระธาตุมุเตา สิเรียม
- มัณฑะเลย์ พุกาม อินเล
สถานที่ท่องเที่ยว
5 มหาบูชาสถาน
- มหาเจดีย์ชเวดากอง
- พระธาตุอินทร์แขวน
- เจดีย์ชเวมอดอ หรือ พระธาตุมุเตา
- เจดีย์ชเวซีคง
- พระมหามัยมุนี หรือ พระแก้วมรกต ของพม่า
สถานที่ท่องเที่ยวทริปที่ 1 ย่างกุ้ง หงสาวดี อินทร์แขวน
- เจดีย์โบตะทาว
- เทพทันใจ
- เทพกระซิบ
- วัดพระหินอ่อน
- ปางช้างเผือก
- ย่างกุ้งดาวน์ทาวน์
- ตลาดสก๊อต
- พระเจดีย์ไจ๊ปุ่น
- พระราชวังบุเรงนอง
- วัดไจ๊คะวาย
- พระพุทธไสยาสน์ชเวตาเลียว
- สิเรียม
เมืองมัณฑะเลย์ เมืองอังวะ เมืองสกายน์ เมืองมิงกุน
- เจดีย์มิงกุน
- ระฆังมิงกุน
- เจดีย์ชินพิวมิน เมียะเต็งดาน
- พระปฐมเมิงกุน สยาดอ
- รอยพระพุทธบาทหินอ่อน
- รูปจำลองเจดีย์มิงกุน
- เรือล่องแม่น้ำอิรวดีสู่มิงกุน
- ตลาดเช้าเมืองพุกาม
- วัดติโลมินโล
- เจดีย์วิหารอนันดา
- วัดดะมะยานจี้
- วัดมนูหะ หรือ มะนูฮาพะย่า
- Gubyakgyi MYIN KA BA
- Thatbyinnyu Phaya
- ทุ่งทะเลเจดีย์พุกามยามเย็น
- จุดชมวิวพุกามยามเช้า
- ชุมชนบนน้ำกับการดำรงค์ชีพ
- บ้านทอผ้าแห่งอินเล
- วัดผ่องต่ออู
- Nga Phe Chaung Monastery
- ชเวยันเป หรือวัดสมปรารถนา
- ตลาดเช้ายองชเว
- กิจกรรมวันวิสาขะบูชา
5 มหาบูชาสถาน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพม่าเคารพอย่างสูงและถือว่าต้องไปให้ได้สักครั้งหนึ่งเพื่อเป็นสิริมงคลของชีวิต
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง
กล่าวได้ว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพม่าที่สำคัญ นอกจากจะได้การยกย่องเคารพนับถือในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระเกษาธาตุ อันเป็นสิ่งแทนองค์พระพุทธเจ้าแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมที่พึ่งทางจิตใจของชาวพม่า ไม่ว่าจะโยกย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่แห่งใด เจดีย์ชเวดากองจะอยู่ในใจของชาวพม่ามิเสื่อมคลาย

ความสวยงามพร้อมความศักดิ์สิทธิในช่วงเวลากลางวันเมื่อสีทองตัดกับสีฟ้าของท้องฟ้า

ส่วนเวลากลางคืนก็จะสุกอร่ามไปอีกแบบหนึ่งเมื่อต้องแสงไฟ

ส่วนอาคารโดยรอบก็จะส่งประกายเสริมให้กับพระมหาเจดีย์เช่นกัน
หรือไจ๊ก์ทิโย ในภาษามอญ แปลว่าหินรูปฤาษี ตั้งอยู่บนยอดเขา ประมาณ 1200 เมตรจากระดับน้ำทะเล สร้างขึ้นราว ค.ศ. 574 เป็นเจดีย์ที่ได้รับการนับถืออย่างแพร่หลาย ไม่เพียงแต่ชาวมอญ พม่าเท่านั้น หากยังรวมถึงชาวล้านนาและชนเผ่าต่างๆ รวมถึงชาวไทยเราด้วย เป็นพระธาตุประจำปีเกิด ปีจอ

ยามค่ำคืนที่นี่จะมีผู้คนมากมายมากราบไหว้บูชา

การจุดธูปบูชาดีน๊ะเป็นสถานที่โล่งจึงไม่เป็นการรบกวนสุขภาพเท่าใดนัก
มหาเจดีย์ที่สำคัญของเมืองหงสาวดี อดีตราชธานีของมอญ เป็นหนึ่งในปูชนีย์สถานสำคัญสูงสุดชองทั้งชาวมอญและพม่า ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันควบคู่กับเจดีย์ชเวดากอง แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใดแต่คาดว่าอย่างน้อยตั้งแต้ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 หรือกว่า 600 ปีมาแล้ว

ปร๖ูทางเข้าดูไกลๆเหมือนพระธาตุตั้งอยู่บนพื้นราบ

แต่จริงๆ แล้วพระธาตุตั้งอยู่บนเนิน

ส่วนยอดที่หักตกลงมาผลกระทบจากแผ่นดินไหว
ต้นแบบเจดีย์ศิลปะพม่า ซึ่งถือเป็นแบบแผนของการสร้างเจดีย์ของพม่าที่สืบมาจนถึงปัจจุบัน ต้นธารพุทธเถรวาทในพุกาม เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่และมีควาสำคัญอีกองค์หนึ่งของพม่า ตั้งอยู่ที่เมืองพุกาม ตามตำนานระบุว่าเจดีย์ชเวซีคง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนหน้าผากและพระทันธาตุของพระพุทธเจ้า

สูงตระหง่านสวยงามมั่นคง สีทองเหลืองอร่ามทั้งองค์

ถ่ายให้ผสมผสานกันทั้งเจดีย์และอาคารรอบข้าง

อีกมุมหนึ่งของอาคารรอบๆพระเจดีย์
ชาวพม่ามักเรียกว่า มหามุนี หรือ พญาจี ซึ่งแปลว่าพระใหญ่ หรือเรียกตามแหล่งที่มาว่า ยาไคน์เซดีย์ แปลว่าพระเมืองยะใข่ หรืออาระกันเซดี พระเมืองอาระกัน อีกชื่อหนึ่งของยะใข่ มหามัยมุนี แปลว่าปราชญ์ผู้ยิ้งใหญ่ สร้างขึ้นที่รัฐยะใข่ เมืองธัญญวดี ประมาณ พ.ศ. 689

ความสวยงามของอาคารที่ประดิษฐานพระมหามุนีช่วงเวลาก่อนสว่าง

นักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวพม่าที่รอชมพิธีล้างหน้า

เจ้าอาวาสวัดขณะคุยกับญาติโยมก่อนขึ้นทำพิธี

เจ้าอาวาสระหว่างการทำพิธีล้างหน้า

เมื่อพิธีล้างหน้าเสร็จเรียบร้อยจะอนุญาติเฉพาะผู้ชายเท่านั้นขึ้นไปปิดทอง
เป็นสถานที่ที่ ตปุสสะและภัลลิกะ นำพระเกษาธาตุ 8 เส้นมาขึ้นฝั่งและพระเจ้าโอกะลัปทรงส่งทหาร 1,000 นายมาเฝ้ารักษาไว้ ต้อมาได้สร้างเจดีย์โบตะทาวขึ้นเป็นอนุสรณ์ พร้อมแบ่งพระเกษาธาตุประดิษฐานไว้ 1 เส้น ก่อนที่จะนำพระเกษาธาตุที่เหลือไปยังเจดีย์ชเวดากอง คำว่า ตะทาว แปลว่า 1,000 โบตะทาว ก็หมายถึงทหาร 1,000 นาย

เจดีย์โบตะทาวน์ยามค้ำคืน

ภายในตกแต่งเป็นสีทองเวลาต้องแสงสวยงามมากๆ

พระประธานสีทองเหลืองอร่าม
เทพทันใจ หรือ โบโบยี แปลเป็นไทยว่า พ่อปู่ หรือ พ่อใหญ่ คนมอญพม่านับถือกันมาช้านาน คนพม่านับถือผีนัต Nat มาก่อนการยอมรับนับถือพุทธศาสนา ทุกวันนี้ก็ยังคงศรัทธาไม่เปลี่ยน ในบรรดานัตหลากหลาย นัตยอดนิยมตนหนึ่งชื่อว่า โบโบยี ใบหน้ายิ้มแย้ม ท่าทางใจดี มือซ้ายถือไม้เท้า มือขวาชี้ไปข้างหน้า คนไทยพากันเรียกว่า เทพทันใจ

นักท่องเที่ยวระหว่างการรอคิวเข้าทำพิธี

ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้ารับคำอวยพร
ตามตำนานกล่าวว่า นางเป็นธิดาของพญานาค ที่เกิดศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า รักษาศีลไม่ยอมกินเนื้อสัตว์จนเมื่อสิ้นชีวิตไปกลายเป็นนัต ซึ่งชาวพม่าเคารพกราบไหว้กันมานานแล้วและถ้าจะไปอธิษฐานขอเทพองค์นี้ ห้ามพูดเสียงดัง จะอธิษฐานขออะไรกับเทพองค์นี้ต้องกระซิบ

สถานที่ที่เทพกระซิบตั้งอยู่จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลตลอด

เวลาขอพรต้องกระซิบแบบนี้ให้ชิดหูเลยละ
วัดพระเจ้าต่อจี พระที่สลักจากหินขาวมันวาวไร้ตำหนิเพียงก้อนเดียวจากช่างฝีมือเมืองมัณฑะเลย์ ประทับนั่งหันพระหัตถ์ออกจากพระองค์ ซึ่งหมายถึงการไล่ศรัตรูและประทานความเจริญรุ่งเรือง พระหัตถ์ขวาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่มาจากสิงคโปร์และศรีลังกา สำหรับชื่อเรียกของพระพุทธรูปและวัดนี้ก็แล้วแต่จะเรียกกันว่า พระหินอ่อน พระหินขาว

บริเวณรอบนอกศาลาที่ประดิษฐานพระหินอ่อน

พระพุทธรูปหินอ่อนช่วงถ่ายมีเงาสะท้อนเลยดูเหมือนหน้าอกองค์พระกลวง
คชลักษณะ ช้างเผือกของพม่า เช่น สีตาเป็นสีไข่มุก กลีบนิ้วเป็นสีชมพู หลังดังใบกล้วยคว่ำ ขนตัวและปลายหางขาว หางทอดตรง ใบหูใหญ่ เล็บเท้าข้างละ 4 เล็บ งวงยาวจรดพื้น หนังตาเป็นสีชมพู ขนตาขาว อวัยวะเพศขาว

ภายในบริเวณโรงช้างเผือก ซึ่งดูแล้วเผือกจริงๆ

ถ่ายดูใกล้ๆ อีกทีว่านี่คือช้างเผือกทั้งตัว
ถ้าอยากสัมผัสบรรยากาศเมือง ย่างกุ้ง แนะนำให้ลอง นั่งรถไฟ เดินตลาดสด และหาคาเฟ่เก๋ๆ นั่งชิลล์ดู ท่านจะเห็นความเป็นย่างกุ้ง ณ ปัจจุบัน บรรยากาศบ้านเมืองที่มีกลิ่นอายโคโลเนี่ยลสไตล์อังกฤษอยู่บางๆ วิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์ ทำให้ย่างกุ้งเป็นเมืองที่มีสีสันน่าสนใจ

กลางใจเมืองย่างกุ้งจะเห็นเจดีย์ชเวดากองแต่ไกล

อาคารรุ่นเก่ากลางใจกรุงย่างกุ้ง
คนไทยเรียก ตลาดสก๊อต คนเมียนมาเรียกว่า Bogyoke Aung San เป็นตลาดในร่มที่เป็นศูนย์รวมของสินค้าทั่วเมียนมา สร้างโดยชาวสก็อต สมัยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มาที่นี่ซื้อของที่เดียวจบ เช่น จิลเวอรี่ เพชร หยก พลอย เงิน เครื่องประดับ เสื้อผ้า ไม้หอมแกะสลัก ภาพวาด สินค้าแฮนด์เมด และของที่ระลึกต่างๆ

ตลาดจะคึกคักด้วยผู้คนตลอดเวลา
พระเจดีย์ที่มีพระ 4 ทิศ โดยพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์ อายุกว่า 500 ปี หันพระพักตร์ไปยัง 4 ทิศ สร้างขึ้นโดย 4 สาวพี่น้อง ที่อุทิศตนแด่พุทธศาสนา จึงสร้างพระพุทธรูปเพื่อแทนตนเอง และได้สาบานไว้ว่าจะไม่ข้องแวะกับบุรุษเพศ

เป็นพระพุทธรูปที่เด่นตั้งอยู่กลางแจ้ง
พระราชวังบุเรงนองใหม่นี้ไม่ใช่ของเดิมแต่ทางพม่าได้สร้างขึ้นมาใหม่ทับตรงที่เคยเป็นพระราชวังเดิม โดยแต่เดิมนั้นพระเจ้าบุเรงนองได้รับสั่งให้สร้างพระราชวังบุเรงนองขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง จึงรับสั่งให้สร้างพระราชวังให้ยิ่งใหญ่ โดยกำแพงเมืองชั้นนอกมีประตูถึง 20 ประตู พื้นที่ภายในกำแพงเมืองกว้างใหญ่มาก แม้แต่พระธาตุมุเตายังจัดเป็นส่วนหนึ่งในกำแพงเมืองพระราชวังบุเรงนองแห่งนี้

ศิลปะของพม่าโดยรวมจะเน้นเป็นสีทองทำให้ตัดกับธรรมชาติดูอาคารเด่นขึ้น

แม้แต่ภายในก็จัเหลืองอร่าม

หุ่นจำลองราชรถของกษัตริย์พม่าในสมัยก่อน
วัดใหญ่แห่งเมืองหงสาวดี เป็นโรงเรียนที่สอนพระพุทธศาสนา อันโด่งดังของพม่า จึงมีคนส่งลูกหลานมาบวชเรียนธรรมะที่นี่กันเป็นจำนวนมาก ผู้ที่มาบวชเป็นพระจะต้องอยู่ประจำที่นี่เลย ซึ่งเหมือนกับเป็นโรงเรียนกิน-นอน จึงเป็นวัดเดียวในเมืองหงสาที่ได้เห็นพระสงฆ์จำนวนมาก จึงมีคนมาทำบุญใส่บาตรพระ เลี้ยงอาหารเพลกันเป็นประจำ

พระและสามเณรขณะรอรับการตักบาตรจากญาติโยม

ข้าวที่ใช้ตักบาตรทางวัดจะเตรียมไว้ให้

เมื่อรับข้าวมาแล้วอาหารจะอยู่บนโต๊ะ จะนั่งฉันดังในภาพ
พระนอนที่สวยงามที่สุดของพม่า องค์พระมีความยาว 55 เมตร สูง 16 เมตร ถึงแม้จะไม่ใหญ่เท่าพระพุทธไสยาสน์เจ้าทัตจีที่ย่างกุ้ง แต่ความงามนั้นสวยงามกว่า โดยพระบาทนั้นจะวางเหลื่อมพระบาท ซึ่งจะเป็นลักษณะที่ไม่เหมือนกับพระนอนของไทยเรา แต่เป็นศิลปะที่สวยงามอีกแบบที่น่าสนใจ พระนอนชเวตาเลียว นับเป็นพุทธบูชาศักดิ์สิทธิ์ เป็นอันดับสองรองจาก พระธาตุชเวมอดอร์ ของเมืองหงสาวดี

ในแต่ละช่วงเวลาจะมีทั้งชาวพม่าและนักท่องเที่ยวเดินทางมาสักการะไม่ขาด

ส่วนด้านฝ่าเท้าพระพุทธรูป
ตาน-ลยีน หรือ เซอัง ในอดีตไทยเรียก เสี้ยง มีชื่อเดิมที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สิเรียม เป็นเมืองท่าสำคัญของเขตย่างกุ้ง ตั้งอยู่ปากแม่น้ำอิรวดี อดีตเป็นเมืองท่าชั้นนอกของพะโคหรือหงสาวดี เคยเป็นที่มั่นของทหารโปรตุเกสที่ช่วยเหลือชาวมอญทำสงครามกับพม่าตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16

ป้ายบอกชื่อวัดทั้งพม่าและอังกฤษ
คนพม่าเรียก เจ๊าตันเยเลพญา Kyauktan Yele Paya เป็นวัดเจดีย์บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งกลางแม่น้ำย่างกุ้ง สำหรับที่มาของคำว่า เจ้าตันเยเลพญา คือ เจ๊าตันเป็นชื่อเมือง เชื่อกันว่าสร้างโดยคหบดีชาวมอญ เมื่อพันหว่าปีที่แล้ว ตั้งแต่ยุคสมัยมอญยังรุ่งเรือง ในตอนสร้างได้อธิษฐานไว้ว่าถ้าน้ำท่วมก็อย่าให้ท่วมองค์เจดีย์ ถ้ามีคนมากราบไหว้มากเท่าไหร่ก็อย่าให้ล้นพื้นที่นั้นๆ

นักท่องเที่ยวระหว่างรอเรือมารับเพื่อเดินทางสู่วัดที่อยู่กลางแม่น้ำ

ภายในบริเวณวัดดูสะอาดสวยงาม

รูปจำลองพระอุปคุต ซึ่งอยู่ปลายสุดของอาคาร
พระราชวังมัณฑะเลย์
เป็นพระราชวังที่ส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วยไม้สัก ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคม 2488 เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโดยกองทัพอังกฤษ ได้ทิ้งระเบิดจำนวนมากถล่มพระราชวังมัณฑะเลย์ของประพม่า จนไฟลุกไหม้เป็นจุล ด้วยเหตุผลว่า พระราชวังนี้เป็นแหล่งซ่องสุมกำลังของกองทัพญี่ปุ่น

ด้านหน้าทางเข้าของพระราชวังมัณฑะเลย์

หันหลังกลับมาดูจะเห็นตัวท้องพระโรงใหญ่หลังคาทรงฉัตร 9 ชั้น

หอคอยซึ่งยังขึ้นไปด้านบนได้เพื่อชมบรรยากาศเมืองมัณฑะเลย์

รูปปั้นเครื่องทรงกษัตริย์ และขุนนางในสมัยนั้น

ส่วนภายในของพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องใช้ต่างๆของกษัตริย์
ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองมัณฑะเลย์เป็นราชธานีแห่งสุดท้ายของพม่า สถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย ในเมืองมัณฑะเลย์ ได้ถูกเผาทำลายไปพร้อมกับไฟสงคราม วิหารเก่าแก่ที่ยังเหลืออยู่ในมัณฑะเลย์เพียงหนึ่งเดียว เป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่สมัยพระเจ้ามินดง นั่นคือ วิหารชเวนันดอร์ Shwenandaw วิหารที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง เพียงหลังเดียวของพระเจ้ามินดงที่รอดจากการเผาทําลายในช่วงสงครามโลก

ความสวยงามในความเก่าแก่ของอาคาร

ส่วนหน้าบรรณ์การแกะสลักที่ละเอียดอ่อนช้อยหาที่เปรียบเสมือนไม่มี

ภาพแกะสลักรอบๆตัวอาคาร
เจดีย์ Kuthodaw เป็นเจดีย์ทางพุทธศาสนาซึ่งตั้งอยู่ในมั ณ ฑะเลย์พม่าซึ่งมีหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่เชิงเขามัณฑะเลและสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้า Mindon เจดีย์ซึ่งปิดทองสูงกว่าระเบียงมีความสูง 188 ฟุตและมีการสร้างแบบจำลองตามเจดีย์ Shwezigon Pagoda

ด้านหน้าประตูทางเข้าถึงจะไม่ใหญ่โตเหมือนวัดอื่นๆแต่ก็สวยงามตามแบบพม่า

ป้ายแสดงบอกให้รู้ว่าที่นี่มี The World Biggest Book

เป็นอาคารคลุมหนังสือรอบๆบริเวณวัด

แผ่นหนังสือที่อยู่ภายในอาคารแต่ละซุ้ม
เป็นเนินเขาตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของใจกลางเมืองมัณฑะเลย์ เมืองเอาชื่อจากเนินเขา มัณฑะเลย์เป็นที่รู้จักจากความอุดมสมบูรณ์ของเจดีย์และวัดวาอารามและเป็นสถานที่แสวงบุญที่สำคัญสำหรับพุทธศาสนาชาวพม่ามาเกือบสองศตวรรษ ที่ด้านบนของเนินเขาเป็นเจดีย์ Sutaungpyei ทัศนียภาพอันงดงามของมัณฑะเลย์

ลานรอบๆบริเวณจะมีนักท่องเที่ยวมารอชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า

ทุกวัดจะมีระฆังห้อยไว้สำหรับการตีเวลาทำบุญเสร็จโดยเฉพาะชาวพม่า

เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนรอคอย พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า
หรือที่คนพม่าเรียกว่า อู่เบ็ง เป็นชื่อของข้าราชการผู้สร้างสะพานนี้เมื่อปี ค.ศ. 1851 ทอดข้ามทะเลสาบตองตะมาน เพื่อเชื่อมไปสู่วัดเจ๊าตอคยี โดยการรื้อไม้สักมาจากพระราชวังเก่ากรุงอังวะและอาคารเก่าแถบเมืองสกาย ใช้ไม่สักทั้งสิ้น 1,568 ต้น มีความยาว 1.2 กิโลเมตร

ขนาดเป็นช่วงที่แดดร้อนก็ยังมีนักท่องเที่ยวไปเดินเที่ยวและถ่ายรูปจำนวนมาก

ความยาว 1.2 กิโลเมตร เป็นเสน่ห์ให้ผู้คน้ดินทางมาที่นี่ แม้ช่วงนี้น้ำจะแห้ง

เรือพายรับจ้างล่องชมธรรมชาติและสะพานในทะเลสาบ

พระอาทิตย์จะลับขอบฟ้าที่สะพานอู่เบ็ง
ปัจจุบันอังวะเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ แต่ก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศเพราะเต็มไปด้วยโบราณสถานที่หลงเหลือจากสมัยที่ยังรุ่งโรจน์ นักท่องเที่ยวส่วนมากยังชื่นชอบการนั่งรถม้าชมสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการท่องเที่ยวโดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

พอขึ้นเรือข้ามฟากมาที่ฝั่งอังวะก็จะมีรถมาเข้าคิวรอพานักท่องเที่ยวชมเมืองด้วยสนนราคา 2คน/คัน/15,000 จ๊าด
วิหารบากะยา
สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1843 เป็นอาคารที่สร้างจากไม้สักทั้งหลัง ตรงกลางอาคารทำหลังคาทรงปราสาทแบบพม่าหรือที่เรียกว่า ปยาธาตุ การที่หลังคาทำเป็นชั้นหลายชั้นสื้อให้เห็นการแสดงฐานันดรของอาคาร ส่วนประตูหน้าต่างทำซุ้มประตูแบบพม่า ปรปะกอบด้วยเสาติดผนัง หน้าบันที่ประดับเหนือประตู เป็นช่อฟ้า ใบระกาและหางหงษ์แบบพม่าเช่นกัน

อาคารที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง

ตรงกลางอาคารเป็นยอดปราสาทที่แสดงฐานันดรของผู้เป็นเจ้าของ
เป็นกลุ่มเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ในรัชสมัยของพระเจาปดุง แต่ถูกทำลายในเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อปี 1839 ก่อนจะถูกบูรณ์ขึ้นใหม่ในทศวรรษที่ 1990 นี้เอง

สามเจดีย์สามแบบ แต่ละแบบต่างก็มีคุณค่าทางศิลปะวัฒนธรรม

อาคารโบสถ์ที่บูรณะขึ้นมาใหม่ แต้ยังรักษ่เค้าโครงเอาไว้

พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง
เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังอังวะเพื่อใช้สังเกตการณ์ข้าศึก สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1822 สูงโดยประมาณ 30 เมตร หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1838 ทำให้หอคอยแห่งนี้เกิดการเอียงตัว ปัจจุบันทรุดโทรมจนไม่สามารถเดินขึ้นไปได้แล้ว..


สิ่งสุดท้ายที่ต้องชมในการเที่ยวเดินทางโดยรถม้า


มองจากด้านล่างขึ้นไปเพราะหมดแรงจริงๆที่จะเดินขึ้นไปถ่ายด้านบน
ในบรรดาอดีตราชธานี 3 แห้ง ทั้งสะกาย อังวะ และอมรปุระ เมิองที่สวยที่สุดคือ สะกาย หรือที่เดิมเรียกว่าสะแกงหรือจักกาย ซึ่งวเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนา เพราะมีพระสงฆ์สามเณรอยู่จำนวนมาก ทั้งหุบเขาอร่ามไปด้วยเจดีย์สีทอง จนมีคำขนานนามว่าเป็นแผ่นดินทองของพม่า Golden Land of Myanmar

ประตูทางเข้าวัดเจดีย์นมนาง

จากลานจุดชมวิวบนเขาสกายน์จะเห็นว่ามีเจดีย์อยู่ไปทั่วบริเวณเมือง
เจดีย์กวงมูดอร์ หรือวัดเจดีย์นมนาง
สร้างโดยพระเจ้าต้าหลู่ เมื่อปี ค.ศ. 1636 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วหรือพระทันตธาตุที่ได้มาจากลังกาเจดีย์นี้เป็นเจดีย์ทรงโอคว่ำแบบสิงหล หรือเจดีย์ทรงลังกา มีตำนานเล่าว่าองค์ระฆังทรงกลมผ่าครึ่งซีกนี้ ได้ต้นแบบมาจากถัน พระชายาคนโปรดของพระเจ้าต้าหลู่
องค์เจดีย์มีความสูง 46 เมตร เส้นรอบวงวัดได้ 274 เมตร

ประตูทางเข้าวัดใหญ่กว้างขวางแต่ที่น่าเสียดายคือเป็นทางสาธารณะเดินต้องระวังรถ

ลานโดยรอบจะกว้างสะดวกไม่แออัดและมีร่มไม้อยู่ทุกที่เพื่อบรรเทาความร้อน

ชาวพม่าจะนิยมมาทำบุญไหว้พระโดยเฉพาะวันสำคัญทางพุทธศาสนา

สินค้ายอดฮิตทานาคา
สร้างขึ้นในปี 1994 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแผ่สัจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 3 อย่าง คือ พระคัมภีร์ pariyatti การปฏิบัติทางพุทธศาสนา patipatti และการสำนึกของธรรมะ patipvedha ในโลกร่วมสมัย เพื่อให้การฝึกอบรมระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาในวิชาพระพุทธศาสนาและวิชาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุแม่ชีและบุคคลทั่วไป

ทางเข้าด้านหน้าของสถาบัน เส้นทางเดียวกันกับเขาสกายน์

ศิลปะบนผนังทั้งรั้วและองค์เจดีย์ละเอียดสวยงาม

เข้าดูไกล้ๆยิ้งสวยมาก
เขาสกายน์ฮิลล์ มีความสูง 240 เมตร บางช่วงเป็นทางลาดชัน แต่มีถนนปูน รถขึ้นไปด้านบนได้ ใช้เวลาไม่นาน ก็สามารถขึ้นไปถึงยอดเขา บริเวณนี้ถือเป็นจุดชมวิวของเมือง นอกจากจะเห็นวิวของแม่น้ำอิระวดีที่สวยงดงามแล้ว มองลงมาก็จะเห็นเหล่าวัดและเจดีย์มากมายในบริเวณเขาสกายน์แห่งนี้ ถือว่าเป็นจุดชมวิวที่ดีที่สุดของเมือง เพราะจะเห็นเมืองโดยรอบ 360 องศา

ยอดเจดีย์ต่างๆที่มองลงมาจากจุดชมวิวเขาสกายน์

วิวด้านนี้จะเป็นด้านทางขึ้นเพระามองเห็นเจดีย์นมนางและโรงเรียนสอนสาสนา
เป็นเมืองเล็กๆ ไม่ได้ใหญ่โตอยู่ริมฝั่งของเเม่น้ำอิระวดี โดยอยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ประมาณ 1 ชั่วโมงโดยเมืองมิงกุนมีความสำคัญต่อราชวงศ์โคบองในอดีต ด้วยการเป็นเมืองที่เป็นเเหล่งรวมของช่างฝีมือหลากหลายเเขนงที่คอยรับใช้ราชสำนักจวบจนการล่มสลายของระบอบกษัตริย์พม่า เเละการเข้ามาครอบครองเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

ทัศนีย์ภาพเจดีย์มิงกุนเมื่อล่องเรือมาก่อนเข้าเทียบท่าเรือ
สร้างขึ้นโดยดำริของ พระเจ้าปดุง เพื่อสร้างครอบรอยพระพุทธบาท เเละมีการวางเเผนไว้ว่าจะให้เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิ จะสร้างให้สูง 150 เมตร เเต่สุดท้ายก็ไม่สามารถทำได้เสร็จเพราะติดขัดปัญหาหลายประการ ปัจจุบันมีความสูง 50 เมตร

ความสูงของเจดีย์ช่วงที่หนึ่งสูง 50 เมตร

รอยร้าวของเจดีย์ที่เพิ่มขึ้นจากแผ่นดินไหวครั้งก่อน มีผลเพียงเล็กน้อยเนื่องจากเป็นรอยร้าวที่มีอยู่เดิม

ช้างหินซึ่งจะตั้งอยู่ตรงทางเข้าก็ยังสร้างไม่เสร็จ

มอเตอร์ไซด์สามล้อรอรับนักท่องเที่ยวนำชมทุกจุดท่องเที่ยวสนนราคา USD 10
ระฆังที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังสามารถตีให้มีเสียงดังกังวาน มีน้ำหนักถึงเกือบ 90 ตัน

ศาลาระฆังมิงกุน

ระฆังที่จัดว่าใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังสภาพใช้งานได้
เจดีย์เมียะเต็งดาน
เจดีย์สินพยุเม งดงามด้วยลวดลายปูนปั้นรูปคลื่นม้วนตัวซ้อนกัน 7 ชั้น เสมือนเทือกเขาทั้ง 7 ตามคติจักรวาล ชั้นบนออกแบบเป็นทรงกระบอก ประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ภายใน สร้างโดยพระเจ้าพะคยีดอ เมื่อปี ค.ศ. 1816 เพื่ออุทิศแทนความรักแด่สินพยุเม พระชายาที่สิ้นพระชนม์ จึงได้รับการขนานนามว่า เจดีย์แห่งความรัก ทัชมาฮาลแห่งพม่า

นักท่องเที่ยวและชาวพม่าที่มาเที่ยวชมความงามเจดีย์

อีกความสวยงามของทัสมาฮาล แห่งเมียนม่า

ส่วนที่เป็นลานกว้างด้านบนเจดีย์ก่อนที่จะขึ้นไปไหว้พระ

พระพุทธรูปพระะประธานองค์ไมโตแต่สวยงาม
พระเถระมิงกุน สยาดอ หรือพระวิจิตตสาราภิวังสะ เป็นพระติปิฏกธร หรือพระผู้จดจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด และสามารถท่องสาธยายได้โดยไม่ตกหล่นแม้แต่คำเดียว

เป็นประกาศเกีรยติคุณให้ทุกท่านที่มาเยี่ยมเยียนได้รู้ว่าความเป็นมาอย่างไร

รูปปั้นพระปฐมเมิงกุน สยาดอ ในศาลาเพื่อให้ผู้คนได้สักการะบูชา
เจดีย์เซตตอยา พระเจ้าปดุงโปรดให้สร้างครอบรอยพระพุทธบาทจำลอง ที่มีลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทจำหลักบนหินอ่อนเอาไว้ รอยพระพุทธบาทแบบนี้สวยงามแปลกตากว่ารอยพระพุทธบาททั่วไป

อาคารภายนอกสวยสดุดตา

พระพุทธบาทจำลองหินอ่อนที่อยู่ภายใน
เป็นการจำลองเจดีย์มิงกุนว่าหากสร้างเสร็จตามแปลนที่วางไว้จะมีความสูงทั้งหมด 150 เมตร แต่ที่เห็นในปัจจุบันมีความสูง 50 เมตร เท่านั้น เป็นหนึ่งในสามของความตั้งใจที่จะสร้าง

เจดีย์มิงกุนจำลองว่าหากสร้างเสร็จจะออกมาแบบนี้
เรือที่ไช้บริการนักท่องเที่มีหลายขนาดขึ้นอยู่ที่จำนวนักท่องเที่ยว

เรือที่ใช้บริการนักท่องเที่ยวล่องแม่น้ำอิระวดีสู่มิงกุน มีหลายขนาดตามจำนวนนักท่องเที่ยว

นี่ก็เป็นอีกลำที่รับจำนวนนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น
ตลาดเช้าเมืองพุกาม
เป็นตลาดสดลักษณะคล้ายตลาดเช้าในจังหวัดรอบนอกไทยเรา

อาหารเช้าชาวเมืองพุกามเป็นก๋วยเตี๋ยวมีทั้งกินที่ร้านและซื้อกลับ

จำพวกผักสดผลไม้
วิหารติโลมินโลมีขนาดใหญ่ ฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ดูแบบผ่านๆจะรู้สีกว่าทุกด้านออกแบบเหมือนกัน แต่ใความเป็นจริงด้านทางทิศตะวันออก ออกแบบมุขที่ใหญ่กว่าอีกสามด้านภายในมีทางเดินที่ยาวและแคบ มีซุ้มซ้อนนำสายตาไปสู่พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ 4 องค์ หันพระพักต์ไป 4 ทิศ บังคับทิศทางให้แสงธรรมชาติผ่านเฉพาะช่องเข้ามาแรเงาให้มีน้ำหนักอ้อนแก่อย่างน่าสนใจ ที่น่าสนใจอีกคือจิตกรรมฝาผนังด้านนอก

ศิลปะบนผนังด้านนอกสวยงามครับขอบอกว่าสวยจริงๆ

พระพุทธรูปมีทั้ง 4 ทิศ ที่เป็นประตูทางเข้า

ความสวยงามของผนังภายในเมื่อมีแสงมาจากประตูทางเข้า

ความช้ดเจนของศิลปะบนฝาผนังด้านนอกรอบตัววิหาร
สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1091 พงศาวงดารเล่าว่า มีพระสงฆ์จากอินเดียเดินทางมายังพุกามและได้กรายทูลพระเจ้ากยันสิตถา ว่าเคยปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดถ้ำนันทมูลในเทือกเขาหิมาลัย พร้อมทั้งบันดาลนิมิตให้พระองค์เห็นวัดถ้ำแห่งนสั้นซึ่งเป็นที่สถิตของเหล่าพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อนั้นพระเจ้ากยันสิตถาก็ทรงปิติสุขยิ่งนัก จึงโปรดเกล้าให้สร้างวิหารอนันทขึ้น ซึ่งงดงามมหัสจรรย์จนพระองค์ถึงกับรับสั่งให้ประหารชีวิตช่างฝีมือทั้งหมด เพราะเกรงว่าจะมีการสร้างซ้ำ

ความสวยงามรอบนอกของเจดีย์วิหาร ยิ่งใหญ่ตระการตา

ส่วนหนึ่งของอาคารด้านหลังของวิหารซึ่งเป็นความสวยงามต่อเนื่อง

พระพุทธรูปยืนด้านประตูทางเข้าด้านหน้าวัด
วัดดะมะยานจี้ เป็นวัดขนาดใหญ่ที่สุดในพุกาม มีชื่อเสียงว่าสร้างในรัชกาลพระเจ้านะระตู ผู้เสด็จขึ้นครองบัลลังก์ด้วยการปลงพระชนม์พระราชบิดาคือพระเจ้าอลองสิธูและพระเชษฐา จึงเชื่อกันว่าทรงสร้างวัดอันใหญ่โตนี้เพื่อลดทอนบาปของพระองค์

มองดูจากภายนอกรั้วจะเห็นว่าตัวอาคารของเจดีย์นี้กว้างใหญ่มมาก

ด้านหน้าประตูทางเข้าศิลปะฝาผนังสวยงาม

พระพุทธรูปในแต่ละทางเข้าทำเหมือนกันทุกประตู
วัดมนูหะ หรือ มะนูฮาพะย่า เป็นวัดและโบราณสถานที่สร้างโดยพระเจ้ามนูหะ กษัตริย์มอญแห่งอาณาจักรสุธรรมวดี ขณะที่พระองค์ทรงถูกจองจำในเมืองพุกามในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธามังช่อ


ดูภายนอกแล้วสวยงามการออกแบบสมัยนั้นไมซับซ้อนแต่เรียบง่าย

พระนอนที่ประดิษฐานในวิหาร
วัดกุบยางกี (Gubyaukkyi Temple) สร้างโดยพระโอรสของพระเจ้าจันสิทธะ สิ่งที่โดดเด่น
คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามที่สุดในพุกาม ที่ยังคงเหลืออยู่


เป็นเจดีย์ที่สำคัญอีกอันหนึ่งที่มีชาวพม่าไปไหว้พระกันมาก

ส่วนนี้เหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ห้ามนำโทรศัพท์ กล้องถ่ายรูปเข้า
Thatbyinnyu Temple หรือ the Omniscient เป็นวัดที่มีชื่อเสียงตั้งอยู่ในเมืองพุกามซึ่งสร้างขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 12 ในรัชสมัยของกษัตริย์ Alaungsithu อยู่ไกล้ๆกับวัดอนันดา วิหาร Thatbyinnyu มีรูปร่างคล้ายไม้กางเขน แต่ไม่สมมาตร วัดมีสองชั้นหลักมีพระพุทธรูปนั่งอยู่บนชั้นสอง


ทางเข้าซึ่งเป็นด้านข้างจากถนนใหญ่ ซึ่งจะผ่านกำแพงเมืองเก่าเข้าไป

ถึงแม้จะมีอายุเป็นร้อยๆปี แต่ก็ยังดูดีและสวยงาม

พระพุทธรูปพระประธานทรงแบบสมัยนั้นจะคล้ายๆกัน

ที่นี่จะมีรถม้าให้นักท่องเที่ยวได้นั่งชมรอบๆบริเวณ
จากจุดชมวิวในยามเย็น

จุดชมวิวทุ่งทะเลเจดีย์และพระอาทิตย์ตก ซึ่งมีทั้งนักท่องเที่ยวและชาวพม่า

บรรยากาศทุ่งทะเลเจดีย์ตัดกับนาข้าว
เป็นโรงแรมที่พักซึ่งทำเป็นหอสูงสำหรับการชมวิวทั้งตอนเช้าและเย็น สำหรับนักท่องเที่ยวค่าขึ้นชมชั้นดาดฟ้า คนละ 7,500 จ๊าด

ความสูงของหอหลังจากออกลิฟท์ชั้นที่ 11 แล้วเดินขึ้นบันใดต่อยังชั้นดาดฟ้า

นักท่องเที่ยวณะชมวิวทะเลพุกาม

ช่วงที่ทุกคนรอคอยบอลลูนเริ่มลอยขึ้นสู่เหนือทะเลพุกาม
ชุมชนบนน้ำกับการดำรงค์ชีพ
ดินแดนที่งดงามชุมชนที่ผูกพันกับสายน้ำ ตั้งอยู่ในรัฐฉานตอนล่างบนปากป่องภูเขาไฟที่ดับแล้วมีพื้นที่ประมาณ 158 ตารางกิโลเมตร ขนาบด้วยเทือกเขาเป็นแนวยาว อากาศเย็นสบาย ผู้คนที่อาศัยอยู่เป็น ชาวอินทา ไทใหญ่และปะโอ คำว่าอินทาแปลว่า ลูกทะเลสาบและเป็นชนกลุ่มเดียวในโลกที่ใช้ขาพายเรือ

ท่าเรือสำหรับนักท่องที่จะมาลงเรือเที่ยวชมทะเลสาบอินเล

เป็นชาวอินเลที่มาหาปลาขณะเดียวกันก็จะแสดงให้นักท่องเที่ยวชมเพื่อหารายได้

การถ่ายไม่ต้องบอกบทครับจัดการตามที่พวกเค้าได้เตรียมมา

ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวอินเล

แปลงปลูกผักซึ่งลอยอยู่บนผิวน้ำ
จะมีผ้าทอทั้งผ้าฝ้าย ผ้าใหมและผ้าใยบัว ึ่งผลิตจากก้านบัวหลวงนิยมถวายพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชา โดยผู้ทอต้องสมาทานศิล 5

ศูนย์ทอผ้าฝ้ายขนาดใหญ่

ช่วงที่ไปอาจจะมีนักท่องเที่ยวน้อยการขายน้อยลงด้วยส่วนห้องโชว์สินค้าเค้าห้ามถ่ายรูป
อยู่ในเขตทะเลสาบอินเล เป็นศูนย์วมจิตใจของชาวอินคา ตามตำนานเล่าว่าพระเจ้าอลองสินธุแห่งพุกามโปรดเกล้าให้สร้างพระบัวเข็มทั้งห้าที่ไม่มีหน้า ไม่มีตา ไม่มีจมูก ด้วยไม้มหาโพธิ์และไม้ตะระตันซึ่งได้จากชีปะขาว แล้วอันเชิญมาที่ทะเลสาบอินเล จากนั้นก็ได้สร้างวัดผ่องต่ออูขึ้นเพื่อประดิษฐาน องค์พระถูกปิดทองมาช้านานจนกลายเป็นก้อนกลม

บริเวณท่าเรือหน้าวัดเรือรอรับนักท่องเที่ยว

ที่ประดิษฐานพระบัวเข็มภายในศาลา

ที่เห็นมีอยู่องค์เดียวพอดีมีเทศกาลแห่พระอีกสี่องค์อยู่ที่ขบวนแห่

ส่วนหนึ่งของขบวนแห่พระบัวเข็มทางน้ำ

เรือที่ประดิษฐานพระบัวเข็มระหว่างการแห่ทางน้ำ
วัดงะแพจอง หรือวัดแมวลอดห่วง สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1205 ด้วยเสาไม้สัก 654 ต้น ในสมัยอังกฤษล่าอาณานิคม เจ้าฟ้าแห่งเมืองยองชเวได้นำพระพุทธรูปและศิลปล้ำค่ามาซ่อนไว้ในทะเลสาบอินเลเพื่อให้รอดพ้นจากอังกฤษ เนื่องจากที่นี่เข้าถึงได้ยาก

เรือที่จอดส่งรับนักท่องเที่ยวที่ด้านหน้าวัด

ภายในศาลามีพระพุทธรูปเก่าและอื่นๆอีกมากมายให้ได้ชม

ครั้งก่อนจะมีการแสดงแมวกระโดดรอดบ่วงแต่ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะเกรงว่าเป็นการทรมารสัตว์
แมวเลยนั่งนอนแบบสบายๆ
แมวเลยนั่งนอนแบบสบายๆ
ตำนานเล่าว่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ในเมืองยองชเว เจ้าฟ้าไทยใหญ่และเจ้าหญิง ได้แข่งกันสร้างเจดีย์ เจ้าหญิงชนะเพราะโกง ด้วยการสร้างโครงไม่ไผ่จากนั้นใช้เสื่อหญ้าคลุมแล้วฉาบด้วยปูนขาว ภายหลังเจ้าฟ้ารู้ว่าถูกหลอกก็กริ้วยิ่งนัก เมื่อคิดได้จึงสร้าง เจดีย์หายโกรธขึ้นที่วัดชเวยันเป แห่งนี้

ศาลาวัดศิลปแบบไทยใหญ่ดูแล้วแปลกสบายตา

อีกด้านของอาคารหน้าต่างมีทั้งทรงกลมและเหลี่ยม

ส่วนที่ประดิษฐานพระประธานผนัง เพดานดูวิจิตรตระการตา
เป็นตลาดค่อนข้างใหญ่ มีสินค้าทั้งของสด ของแห้ง ดอกไม้ ทั้งขขายส่งายปลีก

ด้านหน้าเป็นแผงขายไก่สดตัวค่อนข้างใหญ่ไม่รู้ว่าไก่บ้านหรือฟาร์มเพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง

ด้านในขายผักผลไม้คล้ายๆบ้านเรา

โรตีทอดซื้อชิมแล้วอร่อยดีกินตอนร้อนๆก้อนประมาณ 6 บาทไทย
บังเอิญเดินทางไปที่มัณฑะเลย์พอดี เลยได้มีโอกาศแวะดูประเพณีของพม่าว่าจะทำกิจกรรมต่างๆเหมือนเราหรือเปล่าในเรื่องการเวียนเทียนปรากฎว่าทางพม่าไม่มีการเวียนเทียนแต่จะเข้าวัดสวดมนต์ไหว้พระทำบุญแล้วจุดเทียนถ้วยบูชาทั้งลานวัดเลย

การจุดเทียนถ้วยบูชาพระพุทธเจ้าแทนการเวียนเทียนแบบไทยเรา

จุดให้สูงที่สุดเท่าที่จะจุดได้

รอบๆระฆังที่ชาวพม่าเวลามาวัดแล้วจะมาตีระฆังด้วย